จากสถานการณ์ไวรัสโคโรน่าสายพันธ์ใหม่นี้เกิดขึ้นในประเทศจีน ตาม บทความป้องกันไวรัสโคโรน่าด้วยหน้ากากอนามัย&หน้ากาก N95 วันนี้เรามาต่อที่อุปกรณ์ตัวถัดไปที่จำเป็นต้องใช้สำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานหรือบุคลากรทางการแพทย์ผู้ที่ต้องรักษาคนไข้ เพียงแค่หน้ากากอนามัยนั้นอาจจะยังไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องมีชุดอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย (PPE : Personal Protective Equipment) ซึ่งก็คือ อุปกรณ์ป้องกันและคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้เป็นไปตามมาตรฐานหลักขององค์กรอนามัยโลก
โดยทั่วไปบุคลากรทางการแพทย์ จำเป็นต้องสวมใส่ ชุด PPE เพื่อป้องกันการติดเชื้อโคโรน่าไวรัส สายพันธ์ใหม่ 2019 ตามมาตรฐานองค์การอนามัยโรค ซึ่งประกอบด้วย.
- ชุดกาวน์รัดคลุมศีรษะ
- หน้ากาก N95
- แว่นตาหรือแว่นครอบตา
- ถุงมือ
- กระบังป้องกันหน้า อุปกรณ์ชนิดนี้จะใช้ในกรณีที่ต้องรักษาผู้ป่วยโดยใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย เช่น เจาะเลือด ทำแผล ให้น้ำเกลือ ฉีดยาเป็นต้น
ในส่วนของชุดกาวน์รัดคลุมศีรษะหรือชุดป้องกันร่างกายซึ่งทางแพงโกลินเองก็ถือว่าเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการในประเทศไทย ภายใต้ตราสินค้า ULTITEC ด้วยคุณสมบัติของชุดในรุ่น ULTITEC2000 , ULTITEC3000T และ รุ่น ULTITEC4000 นี้ที่เนื้อผ้าถูกออกแบบให้สามารถป้องกันฝุ่นละออง สารเคมี ตลอดจนป้องกันมลภาวะทางชีวภาพ เลือด รวมถึงเชื้อโรคต่างๆได้ตามมาตรฐาน EN14126
9 ขั้นตอนสุดพิถีพิถัน ในการถอดชุดป้องกันร่างกายไม่ให้ “สัมผัสเชื้อโรค”
ในแต่ละครั้งที่บุคลากรทางการแพทย์ปฏิบัติหน้าที่เสร็จต้องถอดชุดป้องกันร่างกายในห้อง แยกจากบุคลากรทั่วไป และต้องปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัยของตัวเองและป้องกันการแพร่ติดต่อตามขั้นตอน ดังนี้
- เหยียบผ้าที่ชุบน้ำยาฆ่าเชื้อซึ่งอยู่หน้าห้อง
- ดึงเสื้อพลาสติกกันน้ำด้านหน้าพร้อมถุงมือชั้นนอกออก
- ถอด Face shield โดยใช้มือจับสายรัดด้านหลัง
- รูดซิปแล้วถอดฮู้ดชุดป้องกันน้ำและถุงมือยาง
- ถอดชุดออกพร้อมรองเท้าบูท
- ล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล
- ถอด Leg coverโดยพยายามไม่สัมผัสภายนอกของถุงแล้วล้างมือ
- ถอดแว่นป้องกันดวงตาแล้วล้างมือให้สะอาด
- ถอดหน้ากาก N95 แล้วล้างมือให้สะอาด
คลิปตัวอย่างการสวมชุดป้องกันฝุ่น สารเคมี และ เชื้อโรค รุ่น ULTITEC รุ่น 3000T อย่างถูกวิธี
เพื่อความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์และการควบคุมการแพร่ติดต่อของเชื้อโรค ซึ่งเป็นระบบที่ยึดปฏิบัติมาตั้งแต่ปี 2547 ก็เป็นเวลากว่า 16 ปีแล้ว และไม่มีบุคลากรแพทย์ไทยได้รับการติดเชื้อจากโรคอุบัติใหม่ทั้งหลายที่เกิดขึ้น จึงขอให้เพื่อนๆคนไทยทุกคนมั่นใจได้เลยว่าการปฏิบัติงานของทีมแพทย์ไทยมีความปลอดภัยสูงสุด
อ้างอิงข้อมูลจาก เว็บไซต์ไทยรัฐ