เพราะการทำงานในบนที่สูงมีความเสี่ยง การสร้างความมั่นใจให้กับผู้ปฏิบัติงานให้มีความปลอดภัยจึงเป็นเรื่องสำคัญ หนึ่งในวิธีในการป้องกันไม่ให้คนงานตกจากที่สูง คือการใช้จุดยึดเกี่ยว จุดยึดเกี่ยวเป็นองค์ประกอบสำคัญในระบบป้องกันการตก โดยทำหน้าที่เป็นจุดยึดที่มั่นคงสำหรับเชือกนิรภัย รอกกันตก และอุปกรณ์ป้องกันการตกส่วนบุคคลอื่น ๆ บทความนี้จะเเนะนำการใช้งานจุดยึดที่ถูกต้องเพื่อมั่นใจได้ว่าผู้ปฏิบัติงานทำงานในที่สูงได้อย่างปลอดภัย
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดยึดเกี่ยว
จุดยึดเกี่ยวเป็นจุดยึดที่มั่นคงซึ่งสามารถรับน้ำหนักแรงที่เกิดขึ้นในกรณีที่มีการตกได้ ผู้ใช้ควรติดจุดยึดเกี่ยวที่อยู่เหนือหรือระดับไหล่เป็นอย่างน้อย หากจุดยึดเกี่ยวต่ำกว่านี้ระยะทางของการตกจะเพิ่มขึ้นอย่างมากซึ่งให้ผู้ใช้งานตกอยู่ในความเสี่ยง จุดยึดเหล่านี้สามารถสามารถติดตั้งเป็นแบบถาวร เช่น จุดยึดที่ติดตั้งบนหลังคาหรือโครงสร้างอื่น ๆ หรือติดตั้งเป็นแบบชั่วคราว เช่น จุดยึดที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ตามความต้องการ ความแข็งแรงและความสมบูรณ์ของจุดยึดเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ค่าขั้นต่ำของจุดยึดเกี่ยวควรเท่ากับ 12 กิโลนิวตัน เพราะต้องรับน้ำหนักของคนงานและแรงกระแทกที่เกิดขึ้นระหว่างการตก
ประเภทของจุดยึดเกี่ยว
จุดยึดเกี่ยวประเภท A (ตามมาตรฐาน EN 795:2012) เป็นอุปกรณ์ยึดเกี่ยวที่มีจุดยึดอยู่กับที่อย่างน้อย
หนึ่งจุดซึ่งจำเป็นต้องมีจุดยึดกับโครงสร้างหรือองค์ประกอบถาวรเพื่อยึดติดกับโครงสร้าง ตัวยึดเกี่ยวประเภทนี้มักมีขนาดเล็กและสามารถถอดออกจากโครงสร้างที่รองรับได้หรือไม่ก็ได้ เนื่องจากการยึดติดแบบถาวร เช่น การยึดด้วยหมุดย้ำ ตะปูหัวใหญ่ สลักเกลียว สกรู หรือการยึดติดด้วยเรซิน ออกแบบมาเพื่อเป็นโซลูชันระยะยาวสำหรับการป้องกันการตก จุดยึดเหล่านี้มักทำจากวัสดุที่ทนทาน เช่น สแตนเลสสตีลหรือเหล็กชุบสังกะสี และต้องติดตั้งโดยผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรอง
จุดยึดเกี่ยวประเภท B (ตามมาตรฐาน EN 795:2012) เป็นอุปกรณ์ยึดเกี่ยวที่มีจุดยึดอยู่กับที่อย่างน้อยหนึ่งจุด ไม่จำเป็นต้องมีองค์ประกอบถาวรเพื่อยึดติดกับโครงสร้าง อุปกรณ์เหล่านี้ถูกออกแบบมาให้ง่ายต่อการขนย้ายโดยปกติต้องการการติดตั้งเพียงเล็กน้อยหรือสามารถถอดประกอบและเคลื่อนย้ายได้อย่างรวดเร็วจุดยึดที่สามารถพกพาและใช้ในสถานที่ต่าง ๆ ได้ ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น จุดยึดหลังคาชั่วคราว จุดยึดคาน และระบบเชือกนิรภัยเคลื่อนที่ เหมาะสำหรับโครงการระยะสั้นหรือการทำงานในหลายตำแหน่ง
การเลือกใช้ตัวยึดเกี่ยวที่ถูกต้อง
- หากไม่แน่ใจเกี่ยวกับการรับน้ำหนักของจุด
ยึดเกี่ยวให้ปรึกษากับวิศวกร จุดยึดที่ดีที่สุดคือ
เหล็กไอบีม มีเชือกช่วยชีวิตแบบพิเศษ และอุปกรณ์ติดตั้งถาวรอื่นๆ ห้ามยึดกับที่แขวนสายไฟ อุปกรณ์ติดตั้งชั่วคราวหรือสิ่งอื่นที่ไม่ได้ออกแบบมาให้รับน้ำ หนักแบบกะทันหัน ตรวจสอบให้แน่ใจว่าจุดยึดเกี่ยวตรงตามข้อกำหนดด้านความแข็งแรง
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าจุด ยึดเกี่ยวของคุณได้รับการ ตรวจสอบจากนายจ้างหรือวิศวกรของคุณให้เรียบร้อย
- ตรวจสอบความเสียหายของหน้างานก่อนที่คุณจะยึดเข้ากับจุดยึดหรือโครงสร้างใดๆ
- ติดตั้งจุดยึดเกี่ยวเหนือศีรษะโดยตรงเสมอ เพื่อป้องกันการแกว่งไปมา
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณสร้างจุดยึดอย่างถูกต้อง
- ห้ามให้ผู้ปฏิบัติงานสองคนใช้จุดยึดเกี่ยวเดียวกันเพื่อป้องกันการตก เว้นแต่จะได้รับการรับรองตาม มาตรฐาน TS16415-2013.
- จุดยึดควรอยู่เหนือระดับ พื้นดิน/พื้นที่โล่งอย่างน้อย 6 เมตร
ข้อกำหนดด้านความแข็งแรงสำหรับจุดยึดเกี่ยว
วัตถุประสงค์ของจุดยึด | ความแข็งแรงสูงสุดขั้นต่ำสำหรับ การรับน้ำหนัก (กิโลนิวตัน) |
---|---|
การยับยั้งการตกอิสระสำหรับบุคคลเดียว | 12 กิโลนิวตัน |
การยับยั้งการตกอิสระสำหรับ2บุคคล ที่มีจุดยึดเดียวกัน | 21 กิโลนิวตัน |
เทคนิคการจำกัดระยะการเคลื่อนที่ | 12 กิโลนิวตัน |
สายช่วยชีวิตแบบแนวราบ | 12 กิโลนิวตัน สำหรับ 1 คน เพิ่ม 1 กิโลนิวตัน สำหรับแต่ละบุคคลที่เพิ่มขึ้น (เช่น 13 สำหรับผู้ใช้ 2 คน 14 สำหรับผู้ใช้ 3 คน 15 สำหรับ 4 คน เป็นต้น) |
ปลายจุดยึด (ดูคำแนะนำของผู้ผลิต) | เพิ่มการรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ที่ปลายจุดยึด |
จุดยึดกลาง – การเบี่ยงเบนน้อยกว่า 15° | 12 กิโลนิวตัน |
บทสรุป
จุดยึดเป็นองค์ประกอบสำคัญในระบบป้องกันการตก และการใช้งานที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการทำงานให้ปลอดภัยในที่สูง ด้วยการเลือกจุดยึดเกี่ยวที่เหมาะสม ตรวจสอบการติดตั้งและใช้งานอย่างถูกต้อง และบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ ก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการตกและการบาดเจ็บได้ ขอให้พึงระลึกไว้ว่า ความปลอดภัยในที่สูงไม่ใช่แค่การมีอุปกรณ์เซฟตี้ที่พร้อมเท่านั้น แต่เป็นการที่ต้องใช้งานอุปกรณ์เซฟตี้อย่างถูกต้อง