ถุงมือกันบาดแบบไม่เคลือบ ระดับ D (3X41D)
คุณสมบัติ :
๐ ถุงมือกันบาดแบบไม่เคลือบ ระดับ D ถักจากเส้นใยกันบาดชนิดพิเศษ HPPE (High Performance Polyethylene)
๐ เส้นใยกันบาดชนิดพิเศษ HPPE นเส้นใยที่ทนต่อการขูดขีดบาดเฉือนได้ดีกว่าเส้นด้ายอื่นเหมาะกับงานที่ทนบาดเฉือนได้ดีไม่มีรอยตะเข็บ
ซึ่งช่วย ป้องกันการหลุดขาดง่าย สามารถซักได้นํามาใช้ได้หลายครั้ง
๐ ถุงมือกันบาดแบบไม่เคลือบ ระดับ D เหมาะกับหน้างานที่มีความเสี่ยงจากของมีคมต่างๆ เช่น งานแก้ว กระจก กระเบื้อง งานเหล็ก และสแตนเลส
๐ ถุงมือกันบาดแบบไม่เคลือบ ระดับ D ผ่านมาตรฐานสากล EN 388:2016 มี ตัวเลขของระดับป้องกัน ทั้ง 5 ตําแหน่ง ระบุไว้ทีถุงมือ (3X41D)
ตําแหน่งที่ทดสอบ
- ทดสอบการเสียดสีได้ระดับ 3 จาก 4
- ทดสอบการบาด Coup Test x (ยกเว้น )
- ทดสอบทนการฉีกขาด ได้ระดับสูงสุด 4จาก 4
- ทดสอบการเจาะทะลุ ได้ระดับ 1จาก 4
- ทดสอบบาดเฉือน TDM Test ระดับ D
ตารางเปรียบเทียบมาตรฐานการยุโรป การทดสอบถุงมือกันบาด แบบเก่า EN 388:2003 กับ แบบใหม่ EN 388:2016
ประเภทการทดสอบ | EN 388:2003 แบบเก่า | EN 388:2016 แบบใหม่ |
---|---|---|
การทนต่อการเสียดสี (Abrasion Resistance) | วัดจำนวนรอบที่ถุงมือทนต่อการเสียดสีได้ก่อนที่จะเกิดรูขาด ระดับ 1-4 | ยังคงวิธีการทดสอบเดิม ระดับค่าการทนต่อการเสียดสีจากน้อยไปมากคือ 1-4 (แพงโกลินได้ระดับ 3) |
การทนต่อการบาดเฉือน (Cut Resistance – Coup Test) |
วัดจำนวนรอบที่ใบมีดแบบหมุนตัดผ่านถุงมือได้ ระดับ 1-5 | มาตรฐานแบบใหม่มีการเปลี่ยนการทดสอบเป็นแบบ TDM (ISO 13997) (แพงโกลินยกเว้นการทดสอบ) |
การทนต่อการฉีกขาด (Tear Resistance) |
วัดแรงที่ใช้ในการฉีกขาดถุงมือ ระดับ 1-4 | ยังคงวิธีการทดสอบเดิม ค่าการทนต่อการฉีกขาดจากน้อยไปมากคือ ระดับ 1-4 (แพงโกลินได้ระดับ 4 ) |
การทนต่อการเจาะทะลุ (Puncture Resistance) |
วัดแรงที่ใช้ในการเจาะทะลุถุงมือ ระดับ 1-4 | วิธีการทดสอบเหมือนเดิม ค่าการทนต่อการทนต่อการเจาะทะลุ จากน้อยไปมากคือระดับ 1-4 (แพงโกลินได้ระดับ 1 ) |
การทนต่อการบาดเฉือน (ISO 13997/TDM Test) |
มาตรฐานการทดสอบแบบเก่า จะไม่มีการทดสอบ |
การทดสอบถุงมือที่ใช้ใบมีดตรงในการทดสอบ TDM Test (ISO 13997) ค่าการทนต่อการบาดเฉือนเรียงน้อยไปมากคือระดับ A-F (แพงโกลินได้ระดับ D ) |
การทดสอบถุงมือกันบาดทนต่อการบาดเฉือนตาม มาตรฐานยุโรป TDM Test (ISO 13997)
- วิธีการทดสอบการกันบาด: ใช้ใบมีดตรง (คล้ายใบมีดโกน) ที่เคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงถุงมือกันบาด โดยเพิ่มแรงตัดทีละน้อยจนกว่าจะตัดผ่านระยะทาง 20 มิลลิเมตร
- การวัดผล: วัดแรงที่ใช้ในการตัดผ่านวัสดุ (หน่วยนิวตัน) และกำหนดระดับการป้องกันตั้งแต่ A ถึง F
- ข้อดี: ใช้ใบมีดใหม่สำหรับการทดสอบแต่ละครั้ง ทำให้ผลการทดสอบมีความแม่นยำมากขึ้น
สรุป: การทดสอบแบบใหม่ TDM Test เหมาะสมกับการทดสอบวัสดุที่มีความทนทานสูงหรือมีส่วนประกอบที่ทำให้ใบมีดทื่อ ในขณะที่การทดสอบแบบเก่าคือ Coup Test เหมาะกับวัสดุที่มีความทนทานต่อการบาดเฉือนต่ำถึงปานกลาง
๐ ถุงมือกันบาดแบบไม่เคลือบ ระดับ D สามารถถ่ายเทอากาศได้ดี ซักทำความสะอาดได้ (โดยไม่ใช้สารเคมีปรับสภาพเนื้อผ้าทุกชนิด)
๐ ถุงมือกันบาดแบบไม่เคลือบ ระดับ D มี3ขนาดให้เลือก ยาว 23-26cm. เหมาะพอดี กระชับมือ ป้องกันได้ถึงข้อมือ
ยังไม่มีความคิดเห็น