นิยามพื้นที่อับอากาศ
"ทางเข้าออกจำกัดที่ไม่ได้ออกแบบไว้สำหรับการทำงานอย่างต่อเนื่องนานๆ เช่น หลุม บ่อ มี สภาพอันตราย หรือ บรรยากาศอันตราย สักอย่าง"
แล้ว สภาพอันตราย คือ อะไรล่ะ ?
- สภาพที่คนงานอาจโดนทับหรือจมได้
- สภาพที่คนงานอาจตก หรือ ถูกกักขังได้
- เสี่ยงต่อการเป็นบรรยากาศอันตรายอื่นๆตามที่กรมกำหนด
และ บรรยากาศอันตราย คือ อะไรล่ะ ?
- มีออกซิเจนน้อยไป ( น้อยกว่า 19.5% )
- มีออกซิเจนมากไป ( มากกว่า 23.5% )
- มีก๊าซติดไฟหรือระเบิดได้ ความเข้มข้นพอที่จะติดไฟได้
- มีฝุ่นติดไฟ ความเข้มข้นพอที่จะระเบิดได้ มีสารเคมีอันตรา
ฉะนั้นก่อนการทำงานเราจึงต้องทำดังต่อไปนี้ !
1. ตรวจวัดอ๊อกซิเจนก่อนและระหว่างการทำงานด้วยเครื่องวัดก๊าซของแพงโกลิน https://pangolinonline.com/product-categories/gas-detection-instruments.html 2. หากเป็นพื้นที่อับอากาศนายจ้างต้องประเมินสาเหตุ โดยการ กั้นพื้นที่ กันผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้วยยูโรเทปขาวแดง https://pangolinonline.com/sdry0003.html หรือ กรวยจราจร https://pangolinonline.com/trff0023.html 3. จัดเตรียม PPE ที่เหมาะสม เช่น อุปกรณ์กันตก , ชุดอุปกรณ์ Tripod , หน้ากากแบบมีตลับกลอง , ชุดกันสารเคมี https://pangolinonline.com/product-categories/high-fall-protection-equipment.html
แล้ว ผู้ที่เกี่ยวข้องทำงานในพื้นที่อับอากาศ มีใครบ้างล่ะ ?
1.ผู้อนุญาต ต้องผ่านการอบรม และเป็นผู้อนุญาต Work Permit
2.ผู้ปฏิบัติงาน สามารถปฏิเสธการทำงานได้ ถ้างานเป็นงานก่อประกายไฟและงาน
ที่มีสารระเหยที่นายจ้างไม่ได้จัดเตรียมมาตรการความปลอดภัยไว้
3.ผู้ช่วยเหลือ
4.ผู้ควบคุมงาน
ซึ่งในรายละเอียด WORK PERMIT ต้องมี 12 อย่างก่อนนะ ถึงจะปฎิบัติงานได้
1.สถานที่ที่เข้าไป
2.วัน-เวลา
3.เข้าไปทำอะไร
4.ใครอนุญาต
5.ใครควบคุมงาน
6.ใครผู้ช่วยเหลือ
7.อันตรายและการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
8.ผลประเมินสภาพอันตรายหรือบรรยากาศอันตราย
9.มาตรการความปลอดภัยที่นายจ้างเตรียมไว้
10.PPE และอุปกรณ์ช่วยชีวิต
11.ลายเซนต์ผู้ขออนุญาตและผู้อนุญาต
12.ผลตรวจสุขภาพและใบรับรองแพทย์