การสูญเสียการได้ยินเกิดขึ้นได้อย่างไร
หูเรานั้นสามารถรับฟังเสียงได้ตั้งแต่ความถี่ 20 เฮิรตซ์ ถึง 20,000 เฮิรตซ์ แต่ช่วงความถี่ของเสียงที่มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันมาก คือ ช่วงความถี่ของเสียงพูดหรือความถี่ 500-2,000 เฮิรตซ์ นอกจากนี้หูยังมีความสามารถอดทนในการรับฟังเสียงในขอบเขตจำกัด หากเสียงเบาจะไม่ได้ยิน แต่ถ้าเสียงดังเกินไปจะทำอันตรายต่อหูหรือมีอาการปวดหู สำหรับผู้ที่ต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง เช่น โรงงานทอผ้า โรงงานปั้มโลหะ หรือ ผู้ที่อยู่อาศัยในย่านตลาดหรือการจราจรคับคั่ง จะทำให้อวัยวะรับเสียงโดยเฉพาะเซลล์ขนและประสาทรับเสียงเสื่อมสภาพเร็ว เรามาดูตารางนี้กันนะครับว่า ระดับเสียงขนาดไหนที่จะเริ่มทำลายหูของเรา
หูและกลไกการได้ยินเสียง
เสียงจะมุ่งเข้าไปสู่หูส่วนในจนถึงคอเคลีย (Cochlea) ภายในหูส่วนในจะมีการสั่นสะเทือนจากเสียงและจะกระตุ้นเซลล์เล็กๆที่มีขน (Hair Cells) ซึ่งมีอยู่ประมาณ 20,000 เซลล์ทำหน้าที่เปลี่ยนการสั่นสะเทือนให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าและส่งไปต่อยังสมองเพื่อแปลความหมาย ฉะนั้นหากได้รับเสียงดังและต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ จะทำให้ Hair Cells ตายได้กลายเป็นคนหูหนวก ไม่สามารถได้ยินอีกต่อไป
วิธีการป้องกันอันตรายจากการทำงานที่เกิดจากเสียง
1.ทราบสภาวะเสียงภายในโรงงาน
ทําการตรวจวัดระดับเสียงภายในโรงงานตามทีกฎหมายกําหนด เมื่อทราบระดับเสียงใน แต่ละจุดแล้วทําการประเมินค่าการลดเสียงของอุปกรณ์ (NRR , SLC ,SNR Rating)ประเมินความถีในการใช้งาน ระยะเวลาการรับเสียง จํานวนผู้รับสัมผัส
2.ทําการเลือกอุปกรณ์ความปลอดภัยที่ลดเสียงให้เหมาะสม ศูนย์รวมอุปกรณ์ลดเสียงแพงโกลิน
เลือกใช้ Earplugs หรือ Earmuff ของ 3M เลือกค่าการลดเสียง(NRR, SLC ,SNRRating)ใช้งานง่าย,สะดวกและเหมาะสมกับจํานวนคนและพื้นที่ในการทํางาน
3.การดูแลรักษาอุปกรณ์ลดเสียง
หลังจากการใช้งานให้ตรวจสอบ สภาพภายนอกของอุปกรณ์, ความสะอาดและการชํารุดต่างๆ ถ้ามีการชํารุด ให้เปลียนใหม่ทันที เพราะอาจมีผลต่อค่าการลดเสียง
ได้สําหรับ Earplugs ที่อุดหูลดเสียงชนิดยางซิลิโคนและ Earmuff ที่ครอบหูลดเสียงทุกรุ่นล้างทําความสะอาดด้วยนํ้าสบู่อ่อนๆแล้วผึงให้แห้งก่อนนําไปใช้สําหรับ Earplugs
ที่อุดหูแบบ Foam หลังจากการใช้งานใน 1 วัน ควร กําจัดทิ้งไม่ควรนําไปทําความสะอาดหรือนํากลับมาใช้ใหม
สนใจอุปกรณ์ความปลอดภัยและอุปกรณ์เซฟตี้ที่อุดหูลดเสียง ติดต่อเราได้ที่ https://pangolinonline.com/contact-us-pangolin.html