อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ทำงานแอมโมเนีย
แอมโมเนีย เป็นสารเคมีพื้นฐานที่มีประโยชน์อย่างมากต่อภาคเกษตร เช่น นำไปทำปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรท (ammonium nitrate) และปุ๋ยยูเรีย (urea) กลุ่มการเกษตรจะใช้สารแอมโมเนียสูงถึง 85% และในส่วนภาคอุตสาหกรรมจะนำไปใช้ในงานต่างๆ เช่น ห้องเย็น โรงผลิตน้ำแข็ง โรงงานผลิตไอศครีม เป็นต้น ดังนั้น แอมโมเนีย จึงเป็นสารที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย ในขณะเดียวกัน แอมโมเนียก็อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้ ถ้าขาดความระมัดระวังในการจัดเก็บ การขนส่ง และการนำไปใช้งานของสารชนิดนี้ เรามาดูกันว่า งานแบบไหนบ้างที่มีโอกาสเจอสารแอมโมเนีย
งานที่เกี่ยวข้องกับสารแอมโมเนีย แบ่งเป็น 3 รูปแบบดังนี้
1.งานประจำ คืองานที่มีพนักงานทำงานในบริเวณที่มีสารแอมโมเนียอยู่เป็นประจำ เช่น พนักงานในห้องแล็บ ซึ่งกฏหมายอนุญาตให้สัมผัสแอมโมเนียได้ที่ความเข้มข้นไม่เกิน25ppm.ในเวลา8ชั่วโมง
2.งานไม่ประจำและอาจได้รับก๊าซแอมโมเนียในพื้นที่ทำงาน คือการเข้าไปในถังแอมโมเนียหรือเข้าไปในพื้นที่ที่อาจมีแอมโมเนียรั่วอยู่ เช่น งานซ่อมบำรุง
3.สำหรับภาวะฉุกเฉิน กรณีก๊าซแอมโมเนียรั่วไหล ต้องรีบกดสัญญาณแจ้งเหตุอันตราย แล้วโทรศัพท์แจ้งเหตุฉุกเฉินกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยปฏิบัติการฉุกเฉิน
อุปกรณ์ป้องกันนิรภัยส่วนบุคคลสำหรับงานแอมโมเนียมีดังต่อไปนี้
1.หมวกนิรภัย / หมวกเซฟตี้ อุปกรณ์เซฟตี้สำหรับป้องกันศีรษะ
2.ชุดป้องกันสารเคมี ป้องกันของเหลวแบบหยด ละออง ที่มีแรงดันปานกลาง Level C ชุด ULTETEC4000
3.แว่นครอบตานิรภัย ป้องกันสารเคมีแอมโมเนียเข้าตา
4.หน้ากากแบบมีตลับกรองและตลับกรองที่กรองแอมโมเนียได้
5.ถุงมือป้องกันแอมโมเนีย เพื่อป้องกันไม่ให้ซึมผ่านผิวหนัง
6.เครื่องตรวจวัดแก๊ส แจ้งเตือนพื้นที่ทำงานที่มีแก๊สแอมโมเนียรั่วไหล
7.รองเท้าบู๊ธ ทำจาก PVC สามารถทำงานบนน้ำของเหลวและที่มีสารเคมีได้
** หมายเหตุ ** การเลือกระดับการป้องกันของชุดป้องกันสารเคมีนั้น ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารแอมโมเนีย ที่เข้าไปสัมผัส
การปฐมพยาบาลผู้ประสบเหตุ
การสูดดม หายใจ | – นำผู้ประสบเหตุ เคลื่อนย้ายไปอยู่ที่อากาศบริสุทธิ์ – ถ้าปวดแสบที่ปากและคอจากการสูดดมแอมโมเนีย ให้ดื่มน้ำช้าๆ แต่ปริมาณเยอะ – ถ้าปากและคอไม่ได้รับบาดเจ็บให้ผู้ป่วยดื่มชาหวานหรือกาแฟร้อน – ถ้าหยุดการหายใจหรือการหายใจล้มเหลวให้รีบผายปอดโดยทันที – ห้ามป้อนน้ำแก่ผู้ประสบเหตุที่หมดสติโดยเด็ดขาด และรีบส่งโรงพยาบาล |
ตา | – หากแอมโมเนียสัมผัสโดนดวงตาให้รีบล้างด้วยน้ำยาล้างตาบอริกเข้มข้น 2.5% หรือล้างด้วยน้ำสะอาดอย่างน้อย 30 นาที – ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้รีบไปพบแพทย์ |
ผิวหนัง | – ล้างด้วยน้ำสะอาดอย่างน้อย 15 นาที – ถ้ารู้สึกแสบผิวหนังที่สัมผัสกับแอมโมเนียให้ใช้ผ้าชุบน้ำยาล้างตาบอริกเข้มข้น 2.5% ทาบริเวณที่ผิวหนังนั้นๆ- ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้รีบไปพบแพทย์ |
ลูกค้าท่านใดต้องการสั่งซื้ออุปกรณ์เซฟตี้และอุปกรณ์นิรภัยใกล้บ้าน รองเท้านิรภัยแพงโกลิน ติดต่อเราได้ที่ https://pangolinonline.com/contact-us-pangolin.htm
อ้างอิงข้อมูลจาก:ศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ