กฎกระทรวงการทำงานในที่อับอากาศฉบับบล่าสุดและอุปกรณ์ช่วยหายใจ ชุด SCBA
ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยสภาพแวดล้อมในการทำงานที่อับอากาศ พ.ศ.2562 เราได้ทราบถึงสภาพอันตรายและบรรยากาศอันตรายแล้วนั้น หมวดที่ 2 มาตรการความปลอดภัยระบุว่า
ข้อ ๕ ให้นายจ้างจัดให้มีการประเมินสภาพอันตรายในที่อับอากาศ หากพบว่ามีสภาพอันตราย นายจ้างต้องจัดให้มีมาตรการควบคุมสภาพอันตรายเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อลูกจ้าง และให้นายจ้าง เก็บหลักฐานการดําเนินการไว้ ณ สถานประกอบกิจการ หรือสถานที่ทํางาน เพื่อให้พนักงาน ตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้
และ ข้อ ๙ ให้นายจ้างดําเนินการ ดังต่อไปน้ี
(๑) จัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตที่เหมาะสมกับลักษณะงานตามมาตรฐานที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน และต้องควบคุมดูแลให้ลูกจ้างซึ่งทํางานในที่อับอากาศและผู้ช่วยเหลือ สวมใส่หรือใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตนั้น
ฉะนั้นความสำคัญของกฎกระทวงฉบับใหม่นี้จึงเป็นเรื่องการให้ความสำคัญในการทำงานอับอากาศอย่างแท้จริงซึ่งแพงโกลินเองก็ได้นำเสนอบทความเรื่องสภาพอันตรายในการทำงานในที่อับอากาศตาม Link ข้างล่างนี้
→ อ่าน : สภาพอันตรายในการทำงานที่อับอากาศ
ซึ่งเมื่อเราทราบแล้วว่าสภาพงานในที่อับอากาศ ผู้เกี่ยวข้องในการทำงาน ตลอดจนการมีใบอนุญาตการทำงานในที่อับอากาศแล้วนั้น บทความนี้เราจะมาดูข้อกำหนดในการทำงานในที่อับอากาศและแนวทางการจัดการด้านความปลอดภัยโดยมีอุปกรณ์เซฟตี้ป้องกันระบบทางเดินหายใจชนิดจ่ายอากาศทางท่อ โดยเริ่มจากขอเริ่มจากข้อกำหนดการในการทำงานในสถานที่อับอากาศและแนวทางการจัดการด้านความปลอดภัย ดั่งต่อไปนี้
- การบ่งชี้และการประเมินสภาพอันตราย
- การควบคุมอันตราย
- จัดระบบการขออนุญาตทำงาน และการควบคุมอย่างเคร่งครัด
- สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
- กำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบให้ชัดเจน
- จัดระบบการติดต่อสื่อสาร
- ควบคุมผู้รับเหมาหรือบุคคลภายนอกอย่างเคร่งครัด
- กำหนดวิธีการปฏิบัติการกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินและฝึกซ้อม
- การฝึกอบรม
- การทบทวน ความเสี่ยงกรณีมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
แล้วการใช้อุปกรณ์เซฟตี้ในการทำงานในที่อับอากาศแบบมีเครื่องช่วยหายใจ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ SCBA (Self-contained breathing apparatus) รุ่น PSS 3000 ยี่ห้อ Drager ผ่านมาตรฐาน EN รับประกันการผิดพลาดจากการผลิตถึง 1 ปี ซึ่งจุดเด่นอยู่ 3 สิ่ง ดังนี้
1.หน้ากากครอบใบหน้า (Full Face Mask) ด้วยการผลิตจากวัสดุ EPDM ป้องกันสารเคมี อากาศภายนอกไม่สามารถรั่วซึมเข้าไปในอากาศได้ กันความร้อนได้ดี เวลาสวมใส่ผู้สวมใส่ไม่รู้สึกการระคายเคืองผิวหนัง ตัวเลนส์ทนแรงกระแทก รอยขีดข่วน มองเห็นได้ชัดเจน แถมเราสามารถพูดติดต่อผู้อื่นขณะสวมใส่ได้โดยผ่าน Speech diaphragm
2.ถังอัดอากาศ แบบคาร์บอนคอมโพสิตที่มีน้ำหนักเบา ผจญเพลิงได้ มีอายุการใช้งานมากกว่า 20 ปี (น้ำหนักที่รวมทั้งชุดเพียงแค่ 11 Kg.) ซึ่งโดยปกติเวลาทำงานหนักเราจะหายใจอยู่ที่ 40 ลิตร/นาที ซึ่งถังอัดอากาศของเราสามารถใช้งานได้นานถึง 45 นาที อย่างไรก็ตามเราก็ต้องหักออก 15 นาที เผื่อค่าความปลอดภัย ฉะนั้นเราจะใช้อากาศในถังสำหรับทำงานได้เพียง 30 นาที เท่านั้น
3.ชุดสะพายหลัง เราออกแบบมาตามสรีระศาสตร์ของผู้ใช้งาน น้ำหนักอุปรณ์รวมจะตกลงมาที่สะโพก ช่วยลดการตึงของกล้ามเนื้อ การปวดล้า และการปวดหลัง และด้วยวัสดุอย่างดีที่เรานำมาใช้สามารถความร้อน สารเคมี และมีความปลอดภัยสูงด้วยระบบ Cam-Lock สามารถล๊อคถังได้อย่างแน่นหนาและปลดล็อกได้อย่างรวดเร็วเมื่อต้องการเปลี่ยนถัง
สำหรับลูกค้าท่านใดสนใจให้ทีมงานฝ่ายเทคนิคแพงโกลินเข้าไปดูหน้างาน สาธิตการใช้อุปกรณ์การทำงานของชุด SCBA สามารถติดต่อในช่องทางแชทด้านซ้ายมือเลยนะครับ บทความครั้งนี้แพงโกลินก็ขอจบเรื่อง 3 จุดเด่นของชุด SCBA รุ่น PSS 3000 ยี่ห้อ Drager สำหรับการทำงานในที่อับอากาศไปก่อนนะครับ
ขอขอบคุณข้อมูลข้อกำหนดการในการทำงานในที่อับอากาศ: สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน(ประเทศไทย)ในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ