อุปกรณ์เซฟตี้และอุบัติเหตุแก๊สแอมโมเนียรั่วที่เขาค้อ
จากเหตุการณ์ข่าวอุบัติเหตุที่ก๊าซแอมโมเนียรั่วจากโรงงานน้ำแข็งที่เขาค้อ ส่งผลให้มีคนได้รับสารแอมโมเนียมีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลหลายราย ซึ่งเป็นคนงานของโรงงานดังกล่าวที่จะเข้าไปปิดวาล์วที่เกิดการชำรุดจึงได้รับแก๊สแอมโมเนียเข้าไปเต็มๆ เจ้าหน้าที่กู้ภัยจึงสั่งห้ามทุกคนที่ไม่มีชุดอุปกรณ์ป้องกันเข้าไปในพื้นที่โรงงานโดยไม่จำเป็น พร้อมสั่งอพยพประชาชนที่มีบ้านเรือนอยู่ใกล้โรงงาน เพื่อความปลอดภัยของประชาชนแล้ว
แล้วแอมโมเนียเป็นสารเคมีที่เป็นลักษณะแบบไหน ประเทศไทยของเรานำแอมโมเนียเอาไปใช้ในงานอุตสาหกรรมแบบไหนบ้างแพงโกลินก็ได้กล่าวไว้แล้วในบทความนี้
⇒ การใช้อุปกรณ์เซฟตี้สำหรับงานแอมโมเนีย
เราเลยขอลงลึกในรายละเอียดการใช้อุปกรณ์เซฟตี้ป้องกันแก๊สแอมโมเนียในโรงงานทำน้ำแข็งและห้องเย็นนะครับ
ในประเทศไทยอุตสาหกรรมสาเหตุที่ใช้แอมโมเนียมากที่สุดจะอยู่ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับคาโปรแลคตัมที่สูงถึง 46% ลักษณะของงานแบบนี้จะเกี่ยวข้องกับชิ้นส่วนต่างๆในรถยนต์เพราะเป็นสารตั้งต้นในการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ และ อุตสาหกรรมผลิตสินค้าประมง ในส่วนของห้องเย็นและโรงผลิตน้ำแข็งคิดเป็น 3% ของการใช้แอมโมเนียทั้งประเทศ แต่จากการศึกษาสถิติที่ผ่านมา “อุบัติเหตุการทำงานส่วนใหญ่ก็เกิดจากการทำงานที่เกี่ยวข้องกับความเย็นมากที่สุด”
สาเหตุที่แอมโมเนียเป็นสารเคมีเป็นที่นิยมในประเทศไทยเพราะว่าแอมโมเนียเป็นสารทำความเย็นที่ราคาถูกกว่าสารทำความเย็นประเภทคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC) และไม่ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ แต่ตัวแอมโมเนียเองมีคุณสมบัติเป็นพิษในตัวเอง (อุบัติเหตุส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นก็เกิดจากการรั่วไหลจากอุตสาหกรรมความเย็นเป็นหลัก) ด้วยไอระเหยของก๊าซแอมโมเนียทำให้เกิดการระคายเคืองและเกิดแผลไหม้ ต่อระบบทางเดินหายใจ มีอาการเจ็บหน้าอก ชัก หมดสติ และอาจทำให้เสียชีวิตได้ แต่ถ้าสัมผัสกับแอมโมเนียในสภาพของเหลวจะทำให้เกิดแผลไหม้ เนื่องจากความเย็นจัด
แล้วการป้องกันอันตรายจากก๊าซแอมโมเนียจากการทำงานทั่วไปกับการทำงานแบบฉุกเฉินต้องสวมอุปกรณ์ความปลอดภัยแบบไหน ?
ถ้าผู้ที่ปฎิบัติงานโดยทั่วไป อุปกรณ์ป้องกันนิรภัยส่วนบุคคลสำหรับงานแอมโมเนียมีดังต่อไปนี้
1.หมวกนิรภัย / หมวกเซฟตี้ อุปกรณ์เซฟตี้สำหรับป้องกันศีรษะ
2.ชุดป้องกันสารเคมี ป้องกันของเหลวแบบหยด ละออง ที่มีแรงดันปานกลาง Level C ชุด ULTETEC4000
3.แว่นครอบตานิรภัย ป้องกันสารเคมีแอมโมเนียเข้าตา
4.หน้ากากแบบมีตลับกรองและตลับกรองที่กรองแอมโมเนียได้
5.ถุงมือป้องกันแอมโมเนีย เพื่อป้องกันไม่ให้ซึมผ่านผิวหนัง
6.เครื่องตรวจวัดแก๊ส แจ้งเตือนพื้นที่ทำงานที่มีแก๊สแอมโมเนียรั่วไหล
7.รองเท้าบู๊ธ ทำจาก PVC สามารถทำงานบนน้ำของเหลวและที่มีสารเคมีได้
ส่วนผู้ที่ปฏิบัติงานกรณีฉุกเฉิน หากเกิดเหตุแก๊สรั่วไหลที่วาล์ว ข้อต่อ หรืออุปกรณ์ต่างๆ จำเป็นต้องทำการดังต่อไปนี้
- รีบแจ้งเหตุส่งสัญญาณเตือนภัย
- ทำการอพยพ หาจุดรวมพลที่อยู่เหนือลม
- ปิดกั้นพื้นที่ให้มิดชิดและกั้นเขตพื้นที่อันตรายที่เขาค้อกั้นห่างจากจุดที่รั่วไหล 30 เมตรเพราะรั่วไหลเล็กน้อย:ไม่เกิน 200 ลิตร ตามมาตรฐาน ERG Canada (อาจจะกั้นเขตไกลกว่านี้ ซึ่งแต่ละพื้นที่ต้องดูกระแสลมและช่วงเวลากลางวันหรือกลางคืนประกอบด้วยนะครับ)
- เข้าระงับเหตุรั่วไหล
- จัดการพื้นที่ให้กลับมาทำงานได้ปกติ อีกทั้งไม่ให้แอมโมเนียที่เป็นของเหลวรั่วไหลออกไปสู่พื้นที่ชุมชน
ซึ่งการเข้าระงับการเข้าไปปิดวาล์วเพื่อหยุดการรั่วไหลที่ต้นทาง ผู้ที่ปฏิบัติงานในกรณีฉุกเฉินจำเป็นต้องสวมชุดอุปกรณ์ป้องกันก๊าซแอมโมเนีย ระดับ Level A ที่มีคุณสมบัติป้องกันสารเคมีและแก๊ส Class 6 ได้ ซึ่งแพงโกลินมีทั้งแบบใช้ซ้ำได้ หรือ ใช้แบบจำกัดจำนวนครั้งก็ได้ แต่ต้องดูด้วยนะครับว่าชุดนี้กันความเย็นได้กี่องศา ถ้าชุดที่ใส่ไม่สามารถกันความเย็นได้เราก็ไม่ควรสัมผัสกับแอมโมเนียที่เป็นของเหลวโดยตรงเพราะจะทำให้ชุดเปราะและแตกหักได้เนื่องจากความเย็นที่สูงมาก และต้องสวมใส่ ชุดเครื่องช่วยหายใจ SCBA (Self-Control Breathing Apparatus) ตลอดเวลาขณะปฏิบัติงาน และต้องมีเครื่องตัววัดแก๊สแบบติดตัวเข้าไปเพื่อวัดค่า
ห้ามฉีดน้ำเข้าไปจุดที่แอมโมเนียเหลวรั่วไหลอยู่ เพราะ น้ำจะไปทำปฏิกิริยาคายพลังงานออกมาอาจจะเกิดระเบิดได้แต่ไม่รุนแรง แต่ต้องฉีดน้ำให้เป็นฝอยๆอย่างหนาแน่น ครอบคลุมเพื่อจับไอของแอมโมเนียที่ฟุ้งกระจายเป็นของเหลวให้ตกสู่พื้นแล้วจำเป็นต้องหาวิธีกำจัดต่อไป
การซักล้างชุดป้องกันสารเคมีและแก๊ส หลังจากที่ใช้งานเสร็จแล้ว ต้องทำความสะอาดด้วยการแช่ลงในกรดไฮโดรคลอริก ความเข้มข้น 5% เพราะ แอมโมเนียมีคุณลักษณะเป็นด่าง ใช้เวลาประมาณ 5 นาที แล้วล่างด้วยน้ำเปล่าประมาณ 5-10 ครั้ง
ขอขอบคุณ
– เรื่องเล่าเช้านี้
– ข้อมูลความรู้ทั่วไปกับความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับก๊าซแอมโมเนีย และการโต้ตอบกรณีเกิดเหตุรั่วไหล
สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน(ประเทศไทย)ในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ