เครื่องวัดแก๊สแบบมีปั้ม

เครื่องตรวจวัดแก๊สแบบมีปั้มดีอย่างไร ทำไมต้องมีปั้ม ไม่มีปั้มได้ไหม ?

เครื่องวัดแก๊สมีปั้มที่มีตัวช่วยคือสายดูดอากาศเพื่อวัดค่าแก๊สจากอุโมงค์ (ทำงานในแนวดิ่ง)

ลูกค้าบางรายสอบถามมาว่า ทำไมต้องซื้อเครื่องวัดแก๊สแบบมีปั้ม ไม่ซื้อแบบนี้ได้ไหม หรือ หน้างานแบบไหนถึงต้องใช้เครื่องตรวจวัดแก๊สแบบมีปั้ม  จริงๆแล้ว เครื่องวัดแก๊สแบบมีปั้มวัดค่าแก๊สได้ดีกว่าแบบไม่มีปั้มจริงไหม บทความนี้มีคำตอบให้กับผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่อันตรายค่ะ

ทำไมต้องใช้เครื่องวัดแก๊สแบบมีปั้ม ?

ต้องพิจารณา หน้างาน ก่อนว่าเข้าเงื่อนไข องค์ประกอบ 2 อย่างนี้ไหม คือ เมื่อเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ มีทางเข้า ออกจำกัด มีการระบายอากาศไม่เพียงพอ อากาศที่อยู่ภายในไม่ถูกสุขลักษณะและไม่ปลอดภัยและ พื้นที่ที่ต้องการวัดแก๊สนั้นยากที่คนจะเข้าถึง จำเป็นต้องมี ตัวช่วยให้ดูดอากาศ เข้าเครื่องได้

ยกตัวอย่าง เช่น  ถ้าต้องการวัดค่าแก๊ส LEL ในถังน้ำมันขนาดใหญ่ที่ลักษณะ (การทำงานเป็นแนวดิ่ง) ต้องหย่อน ตัวช่วยสายดูดอากาศลงไป ดูมีความเสี่ยงที่จะติดไฟได้ไหม หรือ อยากทราบว่า ท่อแก๊สที่ติดผนังจุดนี้ ลักษณะ (การทำงานที่เป็นแนวระนาบ ) ต้องใช้ ตัวช่วยท่อยืดขยาย  ที่เรียกว่า Probe คุณสมบัติที่ทำจากโพลีคาร์บอเนตจึงมีน้ำหนักเบา ลักษณะจะเป็นแท่งยาวสามารถยืดระยะได้ 1.80 เมตร (อุปกรณ์ที่ต้องซื้อเพิ่มไม่ได้แถมให้นะคะ) ก็สามารถนำไปใช้งานในลักษณะนี้ได้ดูดอากาศเข้าเครื่องว่ามีแก๊สพิษอยู่ในท่อมากน้อยแค่ไหน เป็นต้น 

เครื่องวัดแก๊สแบบมีปั้ม มาพร้อมอุปกรณ์เสริมตัวช่วยวัดแบบยืดขยาย (Probe) ได้ถึง 1.80 เมตร (ทำงานในแนวระนาบ)

  แต่ถ้าลักษณะหน้างานสามารถนำเครื่องวัดแก๊สติดตัวไปพร้อมกับปฏิบัติงานได้เลย ก็ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องวัดแก๊สแบบมีปั้มก็จะช่วยให้ลดค่าใช้จ่ายลงมาประมาณ 15%  (เพราะราคาเครื่องวัดแก๊สแบบมีปั้มราคาจะสูงกว่า) และ การพกพาสะดวกกว่า ไม่ต้องพกอุปกรณ์เสริมตัวช่วยดูดอากาศ

ภาพนี้หน้างานของผู้ปฏิบัติงานพกเครื่องวัดแก๊สแบบไม่มีปั้มเข้าหน้างานได้

  ฉะนั้น เครื่องตัววัดแก๊สแบบมีปั้มจึงเป็น เสมือนเป็นช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความสะดวกและมีความปลอดภัยเวลาทำงาน เพราะ มีตัวช่วยดูดแก๊สที่อยู่ในอากาศ (หน้างานมีความเสี่ยงอาจจะเจอก๊าสพิษหรือแก๊สที่ไม่รู้จักแอบซ่อนอยู่) เข้ามาในตัวเครื่องเพื่ออ่านผลบริเวณหน้างานได้ เพื่อรู้เท่าทันหาวิธีป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นต่อชีวิตที่ต้องเข้าไปปฏิบัติงานจุดนั้นได้

ล่าสุดลูกค้าของแพงโกลิน เป็นผู้รับเหมาที่ต้องเข้าไปทำความสะอาดถังสารเคมี โซนมาบตาพุด ณ โรงงานแห่งหนึ่ง ต้องการเครื่องตรวจวัดแก๊สแบบมีปั้ม ทำงานในแนวดิ่ง คือ หย่อนตัวช่วยสายดูดอากาศลงไปในถังก่อนลงมือทำความสะอาด แต่เนื่องจากงานนี้ผู้รับเหมาได้กำไรไม่เยอะมาก จึงต้องการเครื่องวัดแก๊สแบบมีปั้มที่มีเซนเซอร์วัดค่าแก๊สออกซิเจนได้ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ได้  และ ก๊าสคาร์บอนมอนนอกไซด์ได้ ที่สำคัญ ที่สุด แต่ต้องราคาถูกไม่เกิน 30,000 บาท 

แพงโกลินจึงได้นำเสนอ เครื่องวัดแก๊สรุ่นใหม่ที่มีปั้มรุ่น M40 ที่มีตัวช่วยให้ท่อยางดูดอากาศเข้าเครื่องความยาว 2 เมตรให้ฟรี มีการรับประกันตัวเครื่องวัดแก๊ส เป็นเวลา 1 ปี 6 เดือน หลังจากการสั่งซื้อ (ตัวเซนเซอร์จะไม่ได้รับประกันนะคะ)

  จะเห็นได้ว่าข้อดีของการมีเครื่องวัดแก๊สแบบมีปั้มสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในหน้างานได้ทั้งแนวดิ่งและแนวระนาบ และยังสามารถก็นำไปวัดค่าพื้นที่อันตรายในระยะไกลก็ได้

แต่ไม่ได้หมายความว่า เครื่องวัดแก๊สแบบมีปั้มจะวัดค่าได้รวดเร็วกว่า หรือ แม่นยำกว่า เมื่อเทียบกับเครื่องวัดแก๊สแบบไม่มีปั้ม เพราะ จริงๆ แล้ว เซนเซอร์ของเครื่องจะตรวจจับแก๊สเป็นชนิดเดียวกัน วัดค่าได้พร้อมกันและค่าที่อ่านได้ก็ตรงกันทั้ง 2 ชนิด

ข้อเสียของการใช้เครื่องวัดแก๊สแบบมีปั้ม ?

เครื่องวัดแก๊สแบบมีปั้มโดยปกติราคาจะแพงกว่าจะมีน้ำหนักมากกว่าและกินพลังงานแบตเตอรี่มากกว่านิดนิง เมื่อเทียบกับเครื่องวัดแก๊สแบบไม่มีปั้ม ส่งผลให้การทำงานไม่ต่อเนื่อง อาจจะต้องสลับมาเป็นเครื่องวัดแก๊สแบบไม่มีปั้มแทนที่น้ำหนักเบากว่า และ ใช้พลังงานแบตเตอรี่น้อยกว่า

สุดท้าย วิธีใช้เครื่องวัดแก๊สอย่างไรให้ปลอดภัยและคุ้มค่าสูงสุด

  1. ตรวจสอบหน้างาน ประเมินความเสี่ยงของผู้ปฏิบัติงานว่าเจอแก๊สชนิดไหนบ้าง หน้างานการทำงานเป็นแนวดิ่ง เช่นทำงานแถวๆหลุม บ่อ ถังหมักไหม  หรือ ทำงานแนวราบ เช่น ทำงานกับท่อแก๊ส เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จำเป็นต้องมีตัวช่วยดูดอากาศไหมนะค่ะ
  2. เครื่องตรวจวัดแก๊สต้องมีการสอบเทียบอย่างน้อยทุกๆ 1 ปี  เพื่อมั่นใจได้ว่า ค่าที่แสดงผลออกมามีความแม่นยำสูงสุด และ การบริการสอบเทียบของแพงโกลินยังช่วยตรวจสอบเซนเซอร์ที่ว่าพร้อมใช้งานหรือไม่ เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้ปฏิบัติงานหน้างาน (จากประสบการณ์ที่แพงโกลินตรวจเจอ เซ็นเซอร์ที่ตรวจจับออกซิเจนจะเสื่อมไวกว่าเซนเซอร์ชนิดอื่นๆ ) 
  3. ตัวกรอง (Filter) ใช้สำหรับกรองฝุ่นและกันน้ำเข้าเครื่องป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับแผงวงจรหรือเซนเซอร์ที่ตรวจจับ (ค่าความเสียหายไม่น้อยนะคะ หลักหมื่นบาท ได้เลยค่ะ) ผู้ใช้งานต้องประกอบตัวกรอง(Filter)อย่างถูกวิธีตามรูปนี้ ก็จะยืดอายุการใช้งานของเครื่องตัววัดแก๊สได้นานๆต่อไปได้ค่ะ

 มีเครื่องวัดแก๊สอยู่ในที่ทำงานแล้ว อย่าลืม
มีกันและกันอยู่ที่บ้านด้วยนะคะ ^^

(แอดมินฯติดแบบลักษณะสายสั้นนะคะ จริงๆสายดูดอากาศที่แถมให้จะมีความยาว 2 เมตร ค่ะ)
ลงชื่อรอสินค้า เราจะแจ้งให้คุณทราบเมื่อสินค้ามาถึงในสต็อก กรุณาระบุอีเมลที่ถูกต้องของคุณไว้ด้านล่าง