ชุดกาวน์และชุดPPEต่างกันอย่างไร

ปัจจุบันสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยถือได้ว่าใกล้ที่จะเข้าสู่การคลายล็อคดาวน์เฟส 4 ที่จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ หลังจากไม่พบผู้ติดเชื้อในประเทศมาเป็นเวลาหลายวันแล้ว เป็นเพราะว่าคนไทยทุกคนต่างร่วมมือร่วมใจกัน “หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” และก็ยังมีข่าวดีที่ทั่วโลกชมเชยประเทศของเราว่า มีระบบสาธารณสุขที่ดีติดอันดับ 6 ของโลก และเป็นอันดับที่ 1 ของเอเชียจนได้รับการยกย่องว่าประเทศเราเป็นประเทศพร้อมรับมือกับโรคระบาดมากที่สุด จากการสำรวจของนิตยสาร CEOWORLD ประจำปี 2020

    ซึ่งการที่ประเทศไทยของเราจะได้รับการยกย่องจากคนทั่วโลกมากขนาดนี้ เกิดจากบุคลากรทางการแพทย์ตลอดจนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ถือว่าเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยสร้างและพัฒนาระบบสาธารณสุขที่ทรงพลังและแข็งแกร่งให้เกิดขึ้นสู้กับวิกฤติไวรัสโควิด-19 ในครั้งนี้ได้

     >>   อุปกรณ์เซฟตี้กับการใช้งานในห้องเเล็บ ภาคแรก

    บทความในครั้งนี้แพงโกลินจะมาชวนดูกันว่าชุดที่บุคลากรทางการแพทย์สวมใส่ในเวลาปฎิบัติการต่อสู้กับป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ระหว่าง
ชุด กาวน์ VS ชุด Coverall (หรือที่คนไทยจะเรียกว่าชุด PPE ) มีข้อแตกต่างอะไรบ้างนั้นมาติดตามพร้อมกันได้เลยครับ

  ลำดับ             ชุดกาวน์            ชุด Coverall
       1.ชุดที่ใส่คลุมด้านหน้า เปิดด้านหลังเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคระหว่างคนไข้กับผู้ปฏิบัติงานชุดที่ออกแบบเพื่อปกป้องทุกส่วนของร่างกายจากสภาวะแวดล้อมอันตรายและป้องกันการติดเชื้อ
       2.ชุดกาวน์จะคลุมป้องกันด้านหน้าและเปิดด้านหลัง ปกปิดท่อนแขนและหน้าอก ป้องกันคอถึงหัวเข่าลักษณะชุดคลุมทั้งหมดป้องกันอันตรายได้ 360 องศา
       3.มาตรฐานที่ใช้ในการทดสอบ USA:AAMI PB70 
EN:EN13795
มาตรฐานที่ใช้ในการทดสอบ USA:NIOSH Level A-D
EN:EN ISO13688
       4.การทดสอบเส้นใย (Fabric)ตะเข็บ ช่วงแขนโดยทดสอบที่ตัวชุดเท่านั้นการทดสอบเส้นใย (Fabric)ตะเข็บ ช่วงแขนโดยทดสอบการจำลองที่ใช้งานจริง เช่น การกระเด็นของของเหลวเป็นต้น

  3 เหตุผลที่เราอยากบอกว่า ทำไมชุด Coverall หรือชุด PPE ถึงเหมาะกับโรงพยาบาลในบางแผนกที่มาความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง

  1. เพราะ ชุด Coverall ปกป้องร่างกายครอบคลุม 360 องศา ตั้งแต่ศีรษะ ถึงข้อเท้ารวมถึงด้านหลัง
  2. เพราะ ชุด Coverall ต้องผ่านการทดสอบเส้นใยและต้องผ่านการทดสอบการใช้งานกับคนจริงๆ เพื่อทดสอบความสามารถของ Coverall เมื่อเคลื่อนที่ในลักษณะต่างๆ
  3. เพราะ ชุด Coverall ผ่านมาตรฐาน EN14126 ที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อ สามารถป้องกันเลือดหรือสารคัดหลั่งได้ หากผ่านการทดสอบมีตัว B อยู่ในสัญลักษณ์ยกตัวอย่างเช่น Type 3B เป็นต้น จะเป็นตัวช่วยเพิ่มการป้องกันอันตรายทางชีวภาพ “Biohazard protected”อีกด้วย

          >>   มาตรฐานชุด PPE ที่ต้องมีสำหรับการป้องกันไวรัส

    สำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานทางการแพทย์การเลือกชุด PPE ป้องกันไวรัสถือว่าเป็นสิ่งที่ความสำคัญอย่างสูงสุด ฉะนั้นก่อนที่เราจะซื้อชุดกันไวรัสที่จะนำไปใช้ในโรงพยาบาลเราต้องทราบจุดแข็งและจุดอ่อนคุณสมบัติของแต่ละชุดก่อน เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้ปฏิบัติงาน

ลงชื่อรอสินค้า เราจะแจ้งให้คุณทราบเมื่อสินค้ามาถึงในสต็อก กรุณาระบุอีเมลที่ถูกต้องของคุณไว้ด้านล่าง