เมื่อผู้ปฏิบัติงานต้องสัมผัสกับสารเคมี พวกเขาก็ต้องสวมชุดป้องกันสารเคมีที่เหมาะสำหรับหน้างานเเต่ละอุตสาหกรรมแล้วนั้น ผู้ปฏิบัติงานต้องเจอกับหลักเกณฑ์มากมายที่ต้องลือกชุดป้องกันสารเคมีให้เหมาะสมกับงานที่อันตรายในที่ทำงาน ผู้ปฏิบัติงานบางรายอาจจะขาดความรู้ด้านความปลอดภัย หรือจดจำคุณสมบัติของสารเคมีชนิดต่างๆได้ไม่ครบ แถมในท้องตลาดก็มีชุดป้องกันสารเคมีที่คล้ายคลึงกันจำนวนมากให้เลือก ความซับซ้อนหลายๆอย่าง ทำให้ผู้ปฏิบัติงานเลือกชุดป้องกันสารเคมีที่ไม่เหมาะสม
วันนี้แพงโกลิน มีเคล็ดลับ 3 ข้อ ที่จะช่วยให้การเลือกชุดป้องกันสารเคมีเป็นเรื่องง่ายขึ้น เหมาะสำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี
1.เลือกชุดป้องกันสารเคมีที่ผลิตได้ตามมาตรฐานสากล
ก่อนที่จะใช้งานผู้ปฏิบัติงานต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ PPE ที่ใช้อยู่เป็นอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานผ่านการรับรอง ซึ่งชุดป้องกันสารเคมีเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในอุปกรณ์ (PPE) เมื่อต้องเผชิญหน้ากับสารเคมีที่มีความอันตราย มีข้อกำหนดด้านกฎระเบียบมากมายที่กำหนดโดยประเทศต่างๆ ยิ่งบางหน้างานต้องมีระบุมาตรฐานของชุดป้องกันสารเคมีที่ได้รับ เพราะ เหตุที่พื้นที่นั้นต้องเจอสารเคมีที่มีความเสี่ยงสูงอาจจะเกิดความอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน ฉะนั้น อย่าเสี่ยงกับการใช้อุปกรณ์PPE หรือ ชุดกันสารเคมีทีไม่ได้มาตรฐานสากล
มาตรฐานสำหรับชุดป้องกันสารเคมีที่โรงงานในประเทศไทยนิยมใช้เป็นเกณฑ์ปฏิบัติตามมากที่สุดคือ มาตรฐาน CE (มาตรฐานยุโรป) เพราะมาตรฐาน CE นี้ ได้กำหนดข้อกฎเกณฑ์ข้อบังคับประสิทธิภาพการป้องกันทั้งทางกายภาพและทางเคมี รวมถึงคุณลักษณะของเนื้อผ้า รอยต่อของเสื้อผ้า ความสามารถในการไล่น้ำและการซึมผ่านของสารเคมีประเภทต่างๆ และแม้แต่ประสิทธิภาพของเสื้อผ้าทั้งตัว และยังมีมาตรฐานที่สำคัญอีก 1 ประเภทคือ ISO 16602 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ประเทศส่วนใหญ่ให้การยอมรับด้วยเช่นกัน
ฉะนั้นการเลือกชุดป้องกันสารเคมีที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล จึงเป็นสิ่งที่การันตีได้ว่า ชุดป้องกันสารเคมีที่คุณสวมใส่ได้รับความปลอดภัยป้องกันสารเคมีได้จริง ตามประสิทธิภาพการป้องกันสารเคมีที่ระบุไว้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์
2. การประเมินความเสี่ยงสารเคมีหน้างาน
สารเคมีบางชนิดอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่สารเคมีส่วนใหญ่ที่เราใช้สำหรับกระบวนการทางผลิตสมัยใหม่สามารถก่อให้เกิดความเสียหายต่อผิวหนังของคุณได้ การเลือกชุดป้องกันสารเคมีจึงเหมือนกับทางสองแพร่ง ถ้าเลือกผิดไม่ตรงกับการใช้งานก็อาจทำให้อันตรายถึงกับชีวิต
นี่จึงเป็นเหตุผลที่ ทำไมเราต้องประเมินความเสี่ยงของสารเคมี ?
ประการแรก เราต้องทราบก่อนเลยว่าการทำงานในพื้นที่นั้น หน้างานของเรามีขั้นตอนทำงานอย่างไร เจอสารเคมีที่อันตรายประเภทไหน แล้วถ้ามีการผสมผสานกันของสารเคมี สารเคมีที่เจอหรือมีการสัมผัสนั้นจะส่งผลต่อร่างกายผู้ปฏิบัติงานมากแค่ไหน ศึกษาคู่มือการทำงานอย่างปลอดภัย และศึกษาคู่มือการใช้อุปกรณ์ PPE ตลอดจนสังเกตุ หมายเลข CAS Number (ตัวเลขที่ระบุชื่อสารเคมี, ผู้ผลิต, Catalogue Number, ประเภทของสารอันตราย และขนาดบรรจุ เป็นต้น) เมื่อประเมินได้ว่าเราจึงจะเลือกชุดป้องกันสารเคมีประเภทไหนให้เหมาะสมกับหน้างาน
ประการที่สอง ต้องมีแผนการรับมือกับสารเคมีที่จะเกิดขึ้นขณะปฎิบัติงานไม่ว่าหน้างานนั้นจะเจอแบบไหน ยกตัวอย่าง เช่น เจอการกระเซ็นเป็นแบบละอองน้ำ หรือ เจอเป็นแบบของเหลวที่มีแรงดัน หรือ หน้างานอาจจะต้องมีส่วนใดส่วนหนึ่งของผู้ปฏิบัติงานที่ต้องนำส่วนของร่างกายจุ่มหรือแช่อยู่ในสารเคมี เป็นต้น การที่เราทราบรายละเอียดเหล่านี้จะเป็นการเตรียมพร้อมที่ดีในการเลือกชุดป้องกันสารเคมีให้เหมาะสมกับหน้างานได้
ประการที่สาม เลือกชุดป้องกันสารเคมีที่มีการออกแบบให้เหมาะสมกับหน้างานมากที่สุด
ชุดป้องกันสารเคมีไม่มีชุดใหนที่ออกแบบที่ดีที่สุด เพราะ การออกแบบชุดกันสารเคมีอาจจะมีจุดอ่อน ผู้ผลิตแต่ละรายพยายามทุกวิถีทาง เพื่อป้องกันการรั่วไหล เช่น การรักษาเนื้อผ้าแบบพิเศษ การออกแบบลวดลายเสื้อผ้า การปรับปรุงวัสดุ หรือ ออกแบบให้ใช้ร่วมกับอุปกรณ์ PPE อื่นๆ ได้ง่าย ส่งผลให้ชุดป้องกันสารเคมีมีการออกแบบที่เป็นแบบเฉพาะของแบรนด์นั้นๆ เช่น รอยต่อตะเข็บของชุดกันสารเคมีตัดเย็บตะเข็บอย่างดี เป็นแบบปิดสนิทเพื่อป้องกันการรั่วซึมผ่านรูตะเข็บ มีแถบฟิลม์ปิดซิปเพื่อลดความเสี่ยงจากซึมผ่านของสารเคมีผ่านช่องซิป ออกแบบให้ฮู้ด ข้อมือ และ ข้อเท้าแบบมีแถบยางยืด เพิ่มความกระชับ แนบสนิท
สุดท้ายเลือกชุดป้องกันที่เหมาะสมตามข้อบังคับมาตรฐาน CE ระบุว่าชุดป้องกันสารเคมี่แบบใช้แล้วทิ้งมี 5 ประเภทสำหรับสถานการณ์อันตรายแบบต่างๆ โดย Type 3 หรือ Level C ที่แพงโกลินมีจำหน่ายภายใต้ตราสินค้า ULTITEC จะใช้ก็ต่อเมื่อรุ้ว่าสารเคมีเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ มีการวัดความเข้มข้นของสารเคมี และมีข้อบ่งชี้ในการใช้งาน air-purifying respirators โดยอันตรายจากการสัมผัสทางผิวหนังค่อนข้างน้อยและตลอดการปฏิบัติงานภายใต้ชุดดังกล่าว จะต้องมีการตรวจสภาพอากาศเป็นระยะ
3.ข้อมูลการแพร่ผ่าน
เมื่อต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเนื้อผ้าของชุดป้องกันสามารถป้องกันการแพร่ผ่านของสารเคมีได้ การแพร่ผ่านหมายถึง การแพร่ของสารเคมีที่ผ่านสิ่งกีดขวางและสัมผัสกับผิวหนังของผู้สวมใส่ เวลาที่ใช้ในการแพร่ (Breakthrough time) จึงเป็นสิ่งสำคัญ
Breakthrough time (BT) เวลาที่สารเคมีแพร่ผ่านจะช้าหรือเร็ว ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น
- สูตรป้องกันสารเคมี
- ความหนาของเนื้อผ้า
- ความเข้มข้นของสารเคมีที่ใช้
- ปริมาณสารเคมีที่สัมผัส
- เวลาที่ผู้สวมใส่สัมผัสกับสารเคมี
- อุณหภูมิในสถานที่นั้นๆ
ผู้ผลิตชุดป้องการสารเคมีได้ทดสอบ การแพร่ผ่านของสารเคมีชนิดต่างๆอยู่แล้ว แต่ก่อนที่ผู้ปฎิบัติงานจะเข้าทำงานเกี่ยวกับสารเคมีก็ต้องตรวจสอบข้อมูลการแพร่ผ่านอีกครั้ง เพื่อดูว่าเสื้อผ้านี้สามารถป้องกันพวกเขาจากสารเคมีเฉพาะที่พวกเขากำลังเผชิญอยู่ได้หรือไม่
และนี่คือ คู่มือสำหรับการเลือกชุดป้องกันสารเคมี ของ ULTITEC แสดงให้เห็นว่ายิ่งเวลาในป้องกันการแพร่ผ่านของสารเคมีได้นานมากเท่าไหร่ชุดกันสารเคมีก็จะยิ่งดีต่อผู้ปฏิบัติงานมากเท่านั้น
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ใช้งานทำงานด้านในโรงน้ำแข็ง สารเคมีแอมโมเนียก็มีโอกาสต้องพบเจอ ผู้ใช้งานเพียง เข้าเว็บไซต์ ULTITEC แล้วพิมพ์ชื่อสารเคมี AMMONIA ระบบ AI ของเราก็จะแจ้งว่า ถ้าผู้ใช้งานเลือกชุดกันสารเคมี ULTITEC 4000 สามารถป้องกัน AMMONIA ที่เป็นของเหลวความเข้มข้น 30% ได้นาน 14 นาที ชุดกันสารเคมี ULTITEC 4000 จึงไม่เหมาะกับการทำงานที่ต้องใช้ระยะเวลานาน
แต่ถ้าเป็นชุด ULTITEC รุ่น 5000 สามารถป้องกัน AMMONIA ที่เป็นของเหลวความเข้มข้นสูงถึง 99% สามารถป้องกันได้นาน 480 นาที เหมาะสำหรับใช้งานทั้งวันได้
> 480 นาที ยอดเยี่ยม แนะนำสำหรับการทำงานตลอดทั้งวัน
> 240 นาที ดีกว่า เหมาะสำหรับงานรับแสงปานกลางและการสัมผัสเป็นช่วงๆ
> 120 นาที ดีมาก เหมาะสำหรับการเปิดรับแสงสั้น ๆ ระหว่างการใช้งาน
> 60 นาที ยอมรับได้ ส่วนใหญ่ให้การป้องกันน้ำกระเซ็น
< 30 นาที ป้องกันแทบไม่ได้ เปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่เมื่อสัมผัสกับสารเคมี
< 10 นาที ไม่แนะนำให้ใช้
บทสรุป
สิ่งสำคัญคือต้องปกป้องผู้ปฏิบัติงานทุกคนจากสารเคมีในที่ทำงาน เมื่อต้องเลือกชุดที่สามารถป้องกันสารเคมีได้ ให้ปฏิบัติตามเคล็ดลับ 3 ข้อที่กล่าวมา คือ เลือกชุดกันสารเคมีที่มีคุณสมบัติของเส้นใยและการตัดเย็บรอยต่อจุดต่างๆของชุดให้เหมาะสม จากนั้นทำการประเมินความเสี่ยงของสารเคมีสำหรับงานนั้นๆ โดยเฉพาะอันตรายของสารเคมีที่ผู้ปฏิบัติงานต้องเผชิญ
สุดท้าย ตรวจสอบข้อมูลการแพร่ผ่านชุดป้องกันสารเคมีผ่านเว็บไซต์นี้ ULTITEC เพื่อให้มั่นใจว่าชุดป้องกันสารเคมี ULTITEC ป้องกันสารเคมีได้นานกว่าการใช้งานจริงหรือไม่ เพื่อความปลอดภัยสูงสุดในการทำงาน