ชุดPPEกันไวรัส

ชุดPPEป้องกันไวรัส ป้องกันติดเชื้อ

จากสถานการณ์ไวรัสโคโรน่าสายพันธ์ใหม่นี้เกิดขึ้นในประเทศจีน ตาม บทความป้องกันไวรัสโคโรน่าด้วยหน้ากากอนามัย&หน้ากาก N95 วันนี้เรามาต่อที่อุปกรณ์ตัวถัดไปที่จำเป็นต้องใช้สำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานหรือบุคลากรทางการแพทย์ผู้ที่ต้องรักษาคนไข้ เพียงแค่หน้ากากอนามัยนั้นอาจจะยังไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องมีชุดอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย (PPE : Personal Protective Equipment) ซึ่งก็คือ อุปกรณ์ป้องกันและคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้เป็นไปตามมาตรฐานหลักขององค์กรอนามัยโลก

   โดยทั่วไปบุคลากรทางการแพทย์ จำเป็นต้องสวมใส่ ชุด PPE เพื่อป้องกันการติดเชื้อโคโรน่าไวรัส สายพันธ์ใหม่ 2019 ตามมาตรฐานองค์การอนามัยโรค ซึ่งประกอบด้วย.

  1. ชุดกาวน์รัดคลุมศีรษะ
  2. หน้ากาก N95 
  3. แว่นตาหรือแว่นครอบตา
  4. ถุงมือ
  5. กระบังป้องกันหน้า อุปกรณ์ชนิดนี้จะใช้ในกรณีที่ต้องรักษาผู้ป่วยโดยใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย เช่น เจาะเลือด ทำแผล ให้น้ำเกลือ ฉีดยาเป็นต้น

   ในส่วนของชุดกาวน์รัดคลุมศีรษะหรือชุดป้องกันร่างกายซึ่งทางแพงโกลินเองก็ถือว่าเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการในประเทศไทย ภายใต้ตราสินค้า ULTITEC ด้วยคุณสมบัติของชุดในรุ่น ULTITEC2000 , ULTITEC3000T และ รุ่น ULTITEC4000 นี้ที่เนื้อผ้าถูกออกแบบให้สามารถป้องกันฝุ่นละออง สารเคมี ตลอดจนป้องกันมลภาวะทางชีวภาพ เลือด รวมถึงเชื้อโรคต่างๆได้ตามมาตรฐาน EN14126

9 ขั้นตอนสุดพิถีพิถัน ในการถอดชุดป้องกันร่างกายไม่ให้ “สัมผัสเชื้อโรค”

     ในแต่ละครั้งที่บุคลากรทางการแพทย์ปฏิบัติหน้าที่เสร็จต้องถอดชุดป้องกันร่างกายในห้อง แยกจากบุคลากรทั่วไป และต้องปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัยของตัวเองและป้องกันการแพร่ติดต่อตามขั้นตอน ดังนี้

  1. เหยียบผ้าที่ชุบน้ำยาฆ่าเชื้อซึ่งอยู่หน้าห้อง
  2. ดึงเสื้อพลาสติกกันน้ำด้านหน้าพร้อมถุงมือชั้นนอกออก
  3. ถอด Face shield โดยใช้มือจับสายรัดด้านหลัง
  4. รูดซิปแล้วถอดฮู้ดชุดป้องกันน้ำและถุงมือยาง
  5. ถอดชุดออกพร้อมรองเท้าบูท
  6. ล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล
  7. ถอด Leg coverโดยพยายามไม่สัมผัสภายนอกของถุงแล้วล้างมือ
  8. ถอดแว่นป้องกันดวงตาแล้วล้างมือให้สะอาด
  9. ถอดหน้ากาก N95 แล้วล้างมือให้สะอาด

          คลิปตัวอย่างการสวมชุดป้องกันฝุ่น สารเคมี และ เชื้อโรค รุ่น ULTITEC รุ่น 3000T อย่างถูกวิธี 

       เพื่อความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์และการควบคุมการแพร่ติดต่อของเชื้อโรค ซึ่งเป็นระบบที่ยึดปฏิบัติมาตั้งแต่ปี 2547 ก็เป็นเวลากว่า 16 ปีแล้ว และไม่มีบุคลากรแพทย์ไทยได้รับการติดเชื้อจากโรคอุบัติใหม่ทั้งหลายที่เกิดขึ้น จึงขอให้เพื่อนๆคนไทยทุกคนมั่นใจได้เลยว่าการปฏิบัติงานของทีมแพทย์ไทยมีความปลอดภัยสูงสุด


อ้างอิงข้อมูลจาก เว็บไซต์ไทยรัฐ

ลงชื่อรอสินค้า เราจะแจ้งให้คุณทราบเมื่อสินค้ามาถึงในสต็อก กรุณาระบุอีเมลที่ถูกต้องของคุณไว้ด้านล่าง